วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา

ความหมายของจิตวิทยา

จิตวิทยา คือ การศึกษาพฤติกรรมกระบวนทางจิตเชิงปรนัย เป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวาง เป็นองค์ความรู้ทั้งเชิงศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คลอบคลุมทุกด้านเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ทั้งทางกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ ความคิดสติปัญญา จุดมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาศาสตร์สายนี้คือ เพื่อที่จะเข้าใจ อธิบาย ทำนาย พัฒนาและควบคุมพฤติกรรมด้านต่าง ๆ (จิราภา เต็งไตรรัตน์ และคนอื่น ๆ, 2550, หน้า 29)

จิตวิทยา คือ
(1) ศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาพฤติกรรม การกระทำ หรือกระบวนการทางจิตใจ
         (2) ศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้งหมดของชีวิต รวมถึงระบบของร่างกายที่เกี่ยวกับพฤติกรรม การทำงานของประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม พัฒนาการ ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม กระบวนการทางปัญญาที่อยู่ในจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต พลวัตของพฤติกรรม การสังเกต การทดสอบ และการทดลอง การประยุกต์ความรู้ทางจิตวิทยา เช่น การจ้างงาน การจัดการศึกษา เรื่องเกี่ยวกับจิตบำบัด และพฤติกรรมของผู้บริโภค (ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 323-324)

            จิตวิทยา เป็นวิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต (กระบวนการของจิต) สมอง หรือกระบวนความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งครอบคลุมถึงอารมณ์ การนึกคิด รับรู้พฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ (สงกรานต์ ก่อธรรมนิเวศน์, 2552, หน้า 300)

สรุปความหมายของจิตวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม หรือกิริยาอาการของมนุษย์รวมถึงความพยายามที่จะศึกษาว่ามีอะไรบ้างหรือตัวแปรใดบ้าง ในสถานการณ์ใดที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะทำให้สามารถคาดคะเน หรือพยากรณ์ได้โดยใช้แนวทางหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์จิตวิทยา (อังกฤษ: psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม

ความสำคัญของจิตวิทยาและระเบียบวิธีการศึกษาทางจิตวิทยา
ความสำคัญและคุณค่าของวิชาจิตวิทยา เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ (ปราณี รามสูต, 2542, หน้า 4-5)
 1. จิตวิทยาช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง
 2. จิตวิทยาช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจผู้อื่น
 3. จิตวิทยาช่วยให้ได้แนวทางในการวางกฎเกณฑ์ทางสังคม
4. จิตวิทยาช่วยบรรเทาปัญหาพฤติกรรม และปัญหาสังคม
 5. จิตวิทยาช่วยส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต


ความหมายของจิตวิทยาการศึกษา
 จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในสภาพของการจัดการเรียนการสอน โยมีเนื้อหาและระเบียบวิธีการส่วนของเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้และพัฒนาการ สภาวะของเด็กและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และประมวลนำเนื้อหามาหาวิธีการจัดรูปแบบที่ทำให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถนำไปใช้ได้

            จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียเพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

            จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

            การศึกษาพยายามที่จะช่วยเหลือคนในการปรับตัวได้อย่างดีที่สุดส่วนจิตวิทยาเป็นศาสตร์ คำนึงเกี่ยวกับการปรับตัวของคนดังนั้นจิตวิทยาการศึกษาจะเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวของคนไปปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวดังนั้นหน้าที่สำคัญประการแรกคือการจัดการ เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น

จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา

            จุดมุ่งหมายทั่วไปของการเรียนจิตวิทยาการศึกษา คือ เพื่อให้เข้าใจ (Understanding) เพื่อการทำนาย (Prediction) และเพื่อควบคุม (Control) พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆ กู๊ดวินและคลอส ไมเออร์(Goodwill & Cross Mier,1975) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเรียนจิตวิทยา ไว้ดังนี้
             1.เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎี หลักการและสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
            2.เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ และตัวผู้เรียนให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
            3.เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน ตลอดจนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา

            1.จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียนจิตวิทยาสาขาอื่นต่อไป

            2.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา

            3.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน

            4.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง

            5.จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ

            6.จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน หรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้

            7.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้น

            8.จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน การประเมินผลงาน

            9.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา

            10.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต

 ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา

        จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์สำหรับบุคคลทุกวัยไม่เฉพาะครูผู้สอน เช่น ผู้บริหารการศึกษา นักแนะแนว ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบิดา มารดา ผู้ปกครอง ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
        1.ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย
        2.ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้องกับวัย ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
        3.ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ การให้ความร่วมมือ และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน
        4.ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงานกับเด็กได้อย่างราบรื่น
        5.ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไข ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม
        6.ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอนและการบริหารงานได้เหมาะสม
        7.ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี


แบบทดสอบทฤษฎีการเรียนรู้

แบบทดสอบทฤษฎีการเรียนรู้

แบบทดสอบทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ


1.สุนัขแสดงอาการส่ายหัวและกระดิกห่าง เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งแต่จะแสดงอาการน้ำลายไหลเมื่อได้เห็นผงเนื้อบด จากประโยคข้างต้นอยู่ในขั้นใดของทฤษฎีการวางเงื่อนไข?
ก.ขั้นก่อนวางเงื่อนไข                                       ข.ขั้นวางเงื่อนไข
ค.ขั้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข                  ง.ถูกทุกข้อ

2.เจ้าของสุนัขสั่นกระดิ่งก่อน จานั้นก็รีบพ่นผงเนื้อบดเข้าปากสุนัขในเวลาต่อมาอย่างรวดเร็ว ทำอย่างนี้ซ้ำๆหลายๆครั้ง เพื่อให้สุนัขเกิดการเรียนรู้ จากประโยคข้างต้นอยู่ในขั้นใดของทฤษฎีการวางเงื่อนไข?
ก.ขั้นก่อนวางเงื่อนไข                                        ข.ขั้นวางเงื่อนไข
ค.ขั้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข                   ง.ไม่มีข้อถูก

3.ถ้าตัดสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขออก คือผงเนื้อบดให้เหลือแต่เพียงสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข คือเสียงกระดิ่ง ถ้าสุนัขยังน้ำลายไหลอยู่ จากประโยคข้างต้นอยู่ในขั้นใดของทฤษฎีการวางเงื่อนไข?
ก.ขั้นก่อนวางเงื่อนไข                                        ข.ขั้นวางเงื่อนไข
ค.ขั้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข                   ง.ไม่มีข้อถูก

4.ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่ง แล้วเมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงปะทัดจะไม่มีอาการน้ำลายไหล จากประโยคข้างต้นอยู่ในกฎการเรียนรู้ข้อใด?
ก.กฎแห่งการลดพฤติกรรม                              ข.กฎแห่งการคืนกลับ
ค.กฎความคล้ายคลึงกัน                                   ง.กฎแห่งการจำแนก

5.ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่ง แล้วเมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงกดกริ่งจะมีอาการน้ำลายไหลเหมือนกัน จากประโยคข้างต้นอยู่ในกฎการเรียนรู้ข้อใด?
ก.กฎแห่งการลดพฤติกรรม                              ข.กฎแห่งการคืนกลับ
ค.กฎความคล้ายคลึงกัน                                    ง.กฎแห่งการจำแนก

6.ข้อใดคือ กฎแห่งการคืนกลับ?
.การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลงเพราะได้ยินแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว            
.การตอบสนองที่เกิดจาการวางเงื่อนไขที่เพิ่มขึ้น     
.ความเข้มข้นของการตอบสนองจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
.ความเข้มข้นของการตอบสนองจะลดน้อยลงเรื่อยๆ

7.ความเข้มข้นของการตอบสนองจะลดน้อยลงเรื่อยๆ จะอยู่ในกฎแห่งการเรียนรู้ข้อใด?
.กฎแห่งการจำแนก                                      ข.กฎแห่งความคล้ายคลึงกัน
.กฎแห่งการคืนกลับ                                     ง.กฎแห่งการลดพฤติกรรม

8.การเรียนรู้ที่เรียกว่า classical conditioning หมายถึงข้อใด?
.ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าสิ่งใดหนึ่ง                             ข.ผู้เรียนไมมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง
.การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดและการฝึกหัด              . ก และ ค ถูกต้อง

9.กิริยาการเกิดน้ำลายไหลของสุนัขเรียกว่าอะไร?
ก.สิ่งเร้า                                                                 ข.ผลการตอบรับ
ค.การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข                         ง.ความกระหาย

10.สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล  เสียงของกระดิ่งเรียกว่าอะไร?
ก.การกระทำอย่างมีเหตุผล                                 ข.การกระทำที่ควรส่งเสริม
ค.สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข                                         ง.สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข

แบบทดสอบทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสิคของวัตสัน (WATSON)



1.การนำเอาหลักสำคัญมาอธิบายในการเรียน จอห์น บี วัตสัน ได้นำทฤษฎีของใคร?
              ก.พาฟลอฟ                                                          ข.ธอร์นไดค์
ค.สกินเนอร์                                                         ง.กัทธรี

2.จอห์น บี วัตสัน ได้รับความนิยมจนได้รับการยกย่องในเรื่องใด?
ก.บิดาแห่งแนวคิดปัญญานิยม                             ข.บิดาแห่งแนวคิดพฤติกรรมนิยม
ค.บิดาแห่งแนวคิดสังคมนิยม                              ง.บิดาแห่งแนวคิดพฤติกรรมและปัญญานิยม

3.ข้อใดต่อไปนี้คือปฏิกิริยาของเด็กเมื่อเกิดความกลัว?
     ก.มาลีและเมษาโดนเพื่อนล้อว่าเป็นคนขี้โรค              ข.เมษาไม่ไปโรงเรียนเลยโดนแม่ตี
     ค.มานะฝันว่างูกัดเลยสะดุ้งตื่นอย่างรวดเร็ว                ง.มะลิดีใจเมื่อแม่ซื้อขนมมาฝาก

4.ทฤษฎีของ จอห์น บี วัตสัน ได้อธิบายการเรียนรู้ในเรื่องใด?
     ก.การเกิดอารมณ์จากการไม่วางเงื่อนไข                      ข.การเกิดการเรียนรู้จากการไม่วางเงื่อนไข
     ค.การเกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข                      ง.การเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข

5.สัตว์ที่ จอห์น บี วัตสัน ใช้ในการทดลองคือสัตว์ชนิดใด?
ก.แมว                                                                  ข.ปลา   
ค.สุนัข                                                                 ง.หนูขาว

6.จอห์น บี วัตสัน ได้เน้นพฤติกรรมนิยมเฉพาะในด้านใด?
                ก.พฤติกรรมภายนอกเท่านั้น                            ข.พฤติกรรมภายในเท่านั้น
                ค.พฤติกรรมภายนอกและภายใน                     ง.ถูกทุกข้อ

7.การวางเงื่อนไขเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านใด?
                ก.ด้านร่างกาย                                                   ข.ด้านอารมณ์
                ค.ด้านสังคม                                                      ง.ด้านสติปัญญา

8.ข้อใดเป็นการล้างพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขในแง่ลบได้ถูกต้อง?
                ก.เด็กไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ครูก็ไม่สอนแล้วปล่อยให้เด็กเล่นตามอัธยาศัย
                ข.ถ้าเด็กไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ครูควรที่จะเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่
                ค.การที่เด็กกลัวครู ครูต้องทำเป็นไม่ใสใจเด็ก
                ง.เด็กไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ครูต้องสอนเนื้อหาเพิ่มขึ้น

9.ข้อใดเป็นปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์ที่ติดตัวมาโดยไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้?
                ก.ความกลัว                                                        ข.ความโกรธ
                ค.ความรัก                                                           ง.ถูกทุกข้อ

10.ข้อใดคือเป้าหมายจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม?
     ก.ควบคุมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของมนุษย์          ข.ทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
     ค.ควบคุมพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์                 ง.ควบคุมอารมณ์และทำนายพฤติกรรมของมนุษย์


แบบทดสอบทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำของสกินเนอร์


1.นักศึกษาคิดว่าวิธีการเสริมแรงแบบใด ที่เหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน?
ก.การเสริมแรงทุกครั้ง                                                       ข.การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
ค.การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน                          ง.การเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่แน่นอนครูจะมา

2.ครูน้ำติดธุระเลยสั่งงานให้นักเรียนทำงานในคาบเรียนและได้บอกว่า ดูการทำงานของนักเรียนเป็นระยะๆตามเวลาที่ไม่กำหนด จากข้อความข้าต้น นักศึกษาคิดว่าเป็นการเสริมแรงประเภทใด?
ก.การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน                          ข.การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
ค.การเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่แน่นอน                      ง.การเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่ไม่แน่นอน

3. ดช.เสือ เห็นขยะตกลงบนพื้นจึงหยิบไปทิ้งลงถังขยะ ครูดาวผ่านมาเห็นพอดีครูดาวควรทำอย่างไรเมื่อต้องการให้เด็กชายเสือเก็บขยะทุกครั้งที่พบเห็น?
ก.ยืนมองเฉยๆแอบชื่นชมในใจ                                      ข.นำเรื่องนี้ไปบอกให้ครูอีกคนฟัง
ค.ให้การเสริมแรงด้วยการชื่นชมและให้ขนม                 ง.ถูกทุกข้อ

4.การเสริมแรงมีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมของเด็ก
ก.ช่วยให้เด็กแสดงพฤติกรรมนั้นอีกในครั้งต่อไป             ข.ช่วยลดการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ค.ข้อ ก. และข้อ ข. ผิด                                                       ง.ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก

5.ถ้าเราเป็นเด็กขยัน พ่อแม่ก็จะชื่นชมเรา.บทความข้างตนจัดอยู่ในข้อใด?
ก. การวางเงื่อนไข                                                              ข.การเสริมแรงทางลบ
ค.การเสริมแรงทางบวก                                                     ง.การเสริมแรงที่ไม่ได้วางเงื่อนไข

6.ข้อใดเป็นการหยุดเสริมแรง?
ก. มาลีชอบก่อกวนเพื่อน ครูเลยให้มาลีไปอยู่มุมห้องคนเดียว 10 นาที
ข. เมษารังแกน้อง เมษาจึงถูกแม่ดุ
ค. คุณครูไม่ให้ความสนใจกับฮารูกะที่ตะโกนตอบครูเสียงดัง
ง.เท็นเท็นได้รางวัลการแข่งขันระดับจังหวัด ทุกคนก็พากันมาชื่นชนเท็นเท็นถึงบ้าน
7.เด็กชายหมากชอบก่อกวนในห้องเรียกร้องความสนใจ ครูเลยจับเด็กชายหมากไปอยู่คนเดียวสักสิบนาที จากนั้นจึงให้กลับมาข้อความข้างตนคืออะไร?
ก.การลงโทษ                                                                              ข.การพักชั่วคราว
ค.การหยุดการเสริมเเรง                                                                ง.ผิดทุกข้อ

8.สกินเนอร์มีความคิดเห็นสอดคล้องกับใคร?
ก.ธอร์นได                                                                                 ข.วัตสัน
ค. ออซูเบล                                                                                 ง.ผิดทุกข้อ

9.บุคคลใดที่ได้รับการเสริมแรงทางบวก?
ก. เกลได้ส่งการบ้านตรงตามเวลาที่ครูกำหนด เขาจึงได้รับคำชมจากครู
ข. บอลส่งการบ้านช้าตลอด จึงทำให้ครูดุเป็นประจำ
ค.มะปรางเห็นว่าเพื่อนส่งรายงานตรงต่อเวลา หลังได้รับคำชมจากครู ครั้งต่อไปเขาจึงรีบทำรายงานให้เสร็จตรงต่อเวลา
ง. มะนาวมีเรื่องทะเลาะกับเพื่อน ครูก็เลยคุมประพฤติโดยการให้ล้างห้องน้ำ

10. บุคคลในข้อใดที่ได้รับการลงโทษทางลบ?
ก. เด็กชายธาม ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนๆในห้อง ทำให้ถูกดุ
ข.เด็กหญิงมายด์ไม่เชื่อฟังคุณแม่ ทำให้ถูกตี
ค.เด็กชายออกัส ทำการบ้านไม่เสร็จ แม่เลยไม่อนุญาตให้เล่นเกมส์
ง. ข้อ ก. กับ ข้อ ค. ถูก

แบบทดสอบทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดด์ 


1.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง?
ก.      สิ่งเร้ากับสิ่งเร้า
ข.      การตอบสนองกับสัมพันธ์เชื่อมโยง
ค.     สิ่งเร้ากับการตอบสนอง
ง.      ก และ ค ถูก
2.การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนองจะออกมาในรูปแบบใด?
ก.      การลองทำครั้งเดียว
ข.      การลองถูกลองผิดแล้วนำรูปแบบแรกมาใช้
ค.     การลองถูกลองผิดจนกว่าจะได้รูปแบบทึ่ดีและเหมาะสมที่สุด
ง.      ถูกทุกข้อ
3. แมวกดคานไม้และสามารถเปิดประตูได้ครั้งแรกเป็นการตอบสนองแบบใด?
ก.      การตอบสนองแบบตั้งใจ
ข.      การตอบสนองแบบแก้ปัญหา
ค.     การตอบสนองแบบเดาสุ่ม
ง.      การตอบสนองแบบสร้างพันธะระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
4.ข้อใดเป็นสิ่งกระตุ้นให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมการตอบสนองหลายๆอย่างเพื่อจะหาทางสนองความต้องการนั้น?
ก.      แรงบันดาลใจ
ข.      พลังขับและแรงบันดาลใจ
ค.     แรงบันดาลใจและแรงจูงใจ
ง.      พลังขับและแรงจูงใจ
     5. หลังจากธอร์นไดค์ได้ทำการทดลองครั้งแรกแล้วธอร์นไดค์ได้ทำการทดลองนั้นซ้ำๆอรกกลายรอบถามว่าแมวสามารถกดคานแล้วเปิดประตูได้เลยหรือไม่?
ก.      ได้เพราะแมวเกิดกาคเรียนรู้
ข.      ไม่ได้เพราะแมวยังไม่เกิดการเรียนรู้
ค.     ไม่ได้เพราะแต่ระยะเวลาในการแก้ปัญหาจะน้อยลง
ง.      ไม่มีข้อใดถูก
6. กฎการเรียนรู้ข้อใดกล่าวถูกต้อง?
ก.      ต้องมีสภาพความพร้อม
ข.      กระทำซ้ำๆบ่อยๆ
ค.     ได้รับผลที่พอใจ
ง.      มีความสามารถต่างๆ
7.วิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่นักเรียนชอบและตั้งใจเรียนเพราะครูสอนสนุกเข้าใจง่ายเมื่อนักเรียนสอบวิชาภาษาไทยคะแนนสอบของนักเรียนทุกคนมีคะแนนดีจากข้อความข้างต้นคือกฎการเรียนรู้แบบใด?
ก.      กฎแห่งความพร้อม
ข.      กฎแห่งการฝึกหัด
ค.     กฎแห่งผล
ง.      ก และ ข ถูก
8. การกระทำซ้ำๆ บ่อยๆ ย่อมเกิดความสมบูรณ์จะอยู่ในกฎการเรียนรู้?
ก.      กฎแห่งความพร้อม
ข.      กฎแห่งการฝึกหัด
ค.     กฎแห่งความพอใจ
ง.      ไม่มีข้อใดถูก 
9. ข้อใดเป็นการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรีบนรู้ในการแก้ปัญหาได้?
ก.      สอนให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบซ้ำๆ
ข.      เรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
ค.     ครูสอนให้เด็กเรียนรู้ตามความสนใจของเด็ก
ง.      เรียนรู้ตามธรรมชาติ
10.   เมื่อครูต้องการให้ผูเรียนเกิดทักษะในเรื่องใดเรื่องหนึ่งครูควรทำอย่างไร?
ก.      ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
ข.      สร้างความเข้าใจในเรื่องนั้นให้มากๆ
ค.     ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำสมอกับเรื่องนั้นๆ
ง.      ถูกทุกข้อ

แบบทดสอบทฤษฎีการเรียนรู้ของอัลเบิร์ต แบนดูรา



1.น้องมะลิชอบเลียนแบบพฤติกรรมที่ตนชอบ น้องมะลิได้เกิดการเรียนรู้แบบใด?
ก.การเรียนรู้โดยการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ข.การเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไข
ค.การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ
ง.การเรียนรู้โดยการตั้งกฎเกณฑ์

2.การเรียนรู้โดยการสังเกตเน้นความสำคัญในเรื่องใดมากที่สุด?
ก.สิ่งแวดล้อมและตัวผู้เรียน
ข.สิ่งเร้าต่างๆรอบตัว
ค.การลอกเลียนแบบจากสิ่งที่สังเกตโดยไม่คิด
ง.การแสดงพฤติกรรมที่ต่างจากตัวแบบ

3.น้องโบว์ชอบดูการ์ตูน วันพีช และชอบเลียนแบบตัวละครหนึ่งในการ์ตูนนั้นมาก โดยการแสดงพฤติกรรมหรือการกระทำออกมา การกระทำดังกล่าวของน้องโบว์ อยู่ในข้อใด?
ก.ขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้
ข.ขั้นการแสดงพฤติกรรมตามแบบของตนเอง
ค.ขั้นการเรียนรู้พฤติกรรม
ง.ขั้นการกระทำ

4.กระบวนการใดที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้โดยการสังเกต?
ก.กระบวนการความใส่ใจ
ข.กระบวนการจดจำ
ค.กระบวนการแสดงพฤติกรรม
ง.กระบวนการจูงใจ

5.ข้อใดคือลักษณะที่สำคัญของต้นแบบที่มีอิทธิต่อความใส่ใจของผู้เรียน?
ก.เป็นผู้ที่มีเกียรติสูง
ข.หน้าตาดี
ค.มีความสามารถสูง
.ง.ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

6.ไตรภพดูละครเรื่องหนึ่ง ที่มีการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในลักษณะต่างๆทำให้ไตรภพจดจำพฤติกรรมต่างๆแล้วจึงแสดงออกมาโดยการลอกเลียนแบบการกระทำในละครดังกล่าวออกมา ไตรภพอยู่ในกลุ่มการทดลองใด?
ก.มีตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
ข.ไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง
ค.ให้เห็นตัวอย่างจากตัวแบบมีชีวิต แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
ง.ไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว

7.เด็กชายนัททำการบ้านเรียบร้อยถูกต้อง ได้รับรางวัลชมเชยจากครู เป็นตัวแบบให้กับนักเรียนคนอื่นๆ ทำให้นักเรียนคนอื่นๆพยายามทำการบ้านส่งครูให้เรียบร้อยเพื่อให้ได้รางวัลด้วย การกระทำดังกล่าวอยู่ในกระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกตในข้อใด?
ก.กระบวนการแสดงพฤติกรรม
ข.กระบวนการการจูงใจ
ค.กระบวนการจดจำ
ง.กระบวนการความใส่ใจ

8.ข้อใดคือลักษณะของกระบวนการการจดจำ?
ก.ผู้สังเกตสามารถเลียนแบบเหมือนตัวแบบได้ เพราะบันทึกสิ่งที่ต้องการสังเกตไว้ในความจำระยะสั้น
ข.บันทึกสิ่งที่ต้องการสังเกตไว้ในความจำระยะสั้น
ค.ไม่สามารถระลึกสิ่งที่สังเกตเป็นภาพพจน์ในใจได้
ง.ไม่สามารถเข้ารหัสด้วยคำพูดหรือถ้อยคำ

9.ข้อใดเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกต?
ก.ผู้เรียนมีความใส่ใจ สังเกตตัวแบบ
ข.ผู้เรียนต้องเข้ารหัสหรือบันทึกสิ่งที่สังเกตไว้ในความจำระยะยาว
ค.ผู้เรียนมีโอกาสแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
ง.ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

10.ข้อใดเป็นการนำทฤษฏีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน?
ก.แสดงตัวอย่างของการกระทำเพียงแค่ตัวอย่างเดียว
ข.ให้คำอธิบายแก่นักเรียนเพียงอย่างเดียวโดยไม่คู่กับการให้ตัวอย่าง
ค.จัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนต้นแบบ
ง.ข้อ ค ถูก

แบบทดสอบหลักการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์


1.เด็กชายไม้เกิดการเรียนรู้ด้วยการพิจารณาปัญหาในภาพรวมและใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่แก้ปัญหาที่เผชิญได้ แสดงว่าเด็กชายไม้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะใด?
ก.การเรียนรู้จากการหยั่งเห็น
ข.การเรียนรู้จากการสัมผัส
ค.การเรียนรู้จากเรียนเลียนแบบ
ง.การเรียนรู้จากสิ่งต้างๆรอบตัว

2.ข้อใดไม่ใช่ความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์?
ก.จิตเป็นผู้กระทำให้เกิดข่าวสาร และกำหนดรูปร่าง
ข.รับรู้แบบการจำ สัมผัส และการจำแนก
ค.เราจะรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวในลักษณะที่มีความหมายและในรูปของส่วนรวมทั้งหมด
ง.ข้อ ก. และข้อค. ถูก

3.กระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบกับระบบประสาทสัมผัสทั้ง5เกิดจากเหตุใด?
ก.การหยั่งเห็น                               ข.การรับฟัง
ค.การรับรู้                                  ง.ถูกทั้ง กและข.

4.การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นหลังจากสิ่งใด          ?
ก.เกิดจากการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วประสบความสำเร็จในสครั้งเดียว
ข.เกิดจากการลองผิดลองถูกด้วยวิธีอื่นๆก่อนแล้วเกิดความเข้าใจเวบขึ้นมา
ค.เกิดจากการมองเห็น
ง.เกิดจากประสบการณ์เดิม

5.มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ชิดกันเป็นพวกเดียวกัน หมวดหมู่เดียวกันคือกฎในข้อใด?
ก.กฎความแน่นอนชัดเจน                                ข.กฎความใกล้ชิด
ค.กฎความกล้ายคลึง                                        ง.กฎความต่อเนื่อง

6.นาอีมกับฟาดา กำลังดูรูปกลุ่มดาวที่จัดเป็นรูปหมี นาอีมเห็นเป็นรูปหมี ส่วนฟาดาเห็นเป็นรูปสุนัข จากข้อความข้างต้นเพราะเหตุใดถึงเกิดการรับรู้ที่ต่างกัน?

ก.เกิดจากความไม่ชัดเจน                                                 ข.เกิดจากจินตนาการของแต่ละบุคคล
ค.เกิดจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน                               ง.ไม่มีข้อใดถูก

7.ระยะแรกการทดลองของโคเลอร์ลิงจะแสดงพฤติกรรมอย่างไร?
ก.เอื้อมมือ                                                                      ข.กระโดด
ค.เขย่ากรง                                                                      ง.ถูกทุกข้อ

8.การที่ลิงแก้ปัญหาได้ทุกครั้ง แสดงว่าลิงเกิดการหยั่งเห็นจากอะไร?
ก.สิ่งเร้า                                                                 ข.แรงจูงใจ
ค.การตอบสนอง                                                   ง.ประสบการณ์เดิม

9.ข้อใดได้จัดอยู่ในกลุ่มของกฎความคล้ายคลึง?
ก.กีฬาสีของสีแดงแปรอักษรกับฟิวเจอร์พอส์ดเป็นรูป Go
ข.คณะครุศาสตร์ จัดการแข่งขันกีฬาสีโดยแบ่งกลุ่มสี ฟ้า เขียว แดง
ง.ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

10.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการนำไปใช้ในการเรียนการสอนของทฤษฏีเกสตัลท์
ก.ครูมะลิเน้นให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงคุณค่าจากบทเรียน
ข.ครูสมชายสอนอย่างมีขั้นตอนตามลำดับ
ค.ครูพอใจสอนพึงเห็นความสำคัญของประสบการณ์ที่จัดให้ผู้เรียน
ง.ถูกทุกข้อ